ข้อมูลด้านสังคม
1. การเมืองการปกครอง
ตำบลปิงหลวง เดิมขึ้นกับตำบลเมืองลี อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ต่อมา พ.ศ. 2521 อำเภอนาหมื่นได้แยกออกจากอำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน เป็น กิ่งอำเภอนาหมื่นและได้แยกตำบลปิงหลวงออกจากเมืองลี ลักษณะการตั้งบ้านเรือนจะกระจุกอยู่กันตามสองข้างทางติดลำห้วยและบริเวณหุบเขา มีการติดต่อระหว่างหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน ปัจจุบันมีหมู่บ้านในเขตการปกครองจำนวน 10 หมู่บ้านได้แก่
1. บ้านดอนมูล หมู่ที่ 1
2. บ้านปิงหลวง หมู่ที่ 2
3. บ้านปิงใน หมู่ที่ 3
4. บ้านห้วยเย็น หมู่ที่ 4
5. บ้านต้นต้อง หมู่ที่ 5
6. บ้านน้ำแพะ หมู่ที่ 6
7. บ้านน้ำเคิม หมู่ที่ 7
8. บ้านน้ำลีใต้ หมู่ที่ 8
9. บ้านน้ำทา หมู่ที่ 9
10. บ้านค่างาม หมู่ที่ 10
เป็นหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.) ได้แก่ บ้านปิงหลวง บ้านต้นต้อง บ้านน้ำแพะ และ บ้านน้ำเคิม
ประวัติชุมชน
หมู่ที่ 1 บ้านดอนมูล
ประมาณ 90 ปีผ่านมา มีหมู่บ้านใกล้กัน 3 ละแวก คือบ้านเหล่า บ้านดงและบ้านนาบอน แต่ละละแวกมีไม่มากประมาณ 5-6 หลังคาเรือน ต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2475 ได้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ ทั้งสามละแวกจึงพากันอพยพไปอยู่ในละแวกเดียวกันทั้งหมดและเปลี่ยนชื่อเป็น บ้านนามูล สาเหตุที่เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านนามูลเนื่องจากหลังเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ ได้เกิดเป็นที่ราบลุ่ม (ปัจจุบันคือนาป้อม) และหลังจากนั้นไม่นานก็เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านดอนมูล และประกอบกับเดิมมีหมู่บ้าน ชื่อบ้านคอกหวาน และตอนหลังมาเปลี่ยนชื่อเป็นบ้านจำบอน เดิมบ้านดอนมูลและบ้านจำบอนสามารถเดินทางหากันได้โดยใช้ทางลัดระหว่างช่องผา แต่ปัจจุบันไม่สามารถใช้ได้เนื่องจากมีลำน้ำที่ไหลผ่าน จึงทำให้ต้องเดินทางอ้อม โดยผ่านหมู่ที่ 10 และ 2 ตามลำดับ
หมู่ที่ 2 บ้านปิงหลวง
บ้านปิงหลวง เดิมทีอพยพมาจากตอนใต้ของแม่น้ำน่าน ในสมัยสงครามโลกจึงอพยพลูกหลานลี้ภัยมาปักหลักตั้งถิ่นฐานอยู่ข้างลำน้ำลี ขึ้นกับอำเภอนาน้อย และได้แบ่งการปกครองออกเป็นสองอำเภอ คืออำเภอนาน้อยและกิ่งอำเภอนาหมื่น เมื่อ พ.ศ. 2524 ได้แยกตำบลจากตำบลเมืองลีเป็นสองตำบล คือตำบลเมืองลีและตำบลปิงหลวง เดิมมีชื่อว่าบ้านคือ และเปลี่ยนชื่อเป็นบ้านปิงหลวง เมื่อ พ.ศ. 2524 และใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน
หมู่ที่ 3 บ้านปิงใน
บ้านปิงใน ก่อตั้งมาประมาณ 300 ปี ผู้ก่อตั้งชื่อนายอุต อุตมา เป็นบุคคลที่อพยพมากจากบ้านงิ้วโงก อ.เวียงสา จ.น่าน และประชากรกลุ่มหนึ่งอพยพมาจากจ.แพร่ การคมนาคมโดยการเดินทางเท้า ผ่านมาทางบ้านเชตะวัน หรือบ้านแตก อ.นาน้อย จ.น่าน โดยผ่านหมู่บ้านต่างๆ ของต.เมืองลี และอยู่ลึกมาถึงทางสุดของการเดินทาง จึงให้ชื่อหมู่บ้าน ว่าบ้านปิงใน เดิมขึ้นอยู่กับ ต.เมืองลี อ.นาน้อย จ.น่าน ในวันที่ 9 ต.ค. 2521 ได้ตั้งเป็นกิ่งอ.นาหมื่น และแยกหมู่บ้านจากต.เมืองลี เป็นต.ปิงหลวง
หมู่ที่ 4 บ้านห้วยเย็น
บ้านห้วยเย็น เดิมขึ้นกับหมู่ 3 ต.ปิงหลวง ต่อมามีประชากรเพิ่มมากขึ้น ทางราชการจึงแยกออกมาเป็นอีก 1 หมู่บ้าน โดยได้จัดตั้งหมู่บ้านเมื่อ พ.ศ. 2519 โดยมีชาวบ้านเดินทางเท้า เพื่อทำการค้าขาย แล้วผ่านมาเจอลำห้วยที่ใสสะอาด เย็นเป็นพิเศษ จึงตั้งชื่อว่า บ้านห้วยเย็น
หมู่ที่ 5 บ้านต้นต้อง
บ้านต้นต้องเดิมชื่อว่าบ้านบวก ตั้งหมู่บ้านขึ้นสมัยปลายกรุงธนบุรี เดิมมีสามเผ่า เผ่าที่หนึ่งมาจากอำเภอเชียงดาว เผ่าที่สองมาจากเมืองหลวงพระบางเวียงจันทร์ เผ่าที่สามมาจากเมืองฝาง มีพรานสน พรานจ๋อม ครอบครัวสองพี่น้องมาตั้งอยู่แบบดึกดำบรรพ เป็นครอบครัวแรกของบ้านต้นต้อง ต่อมามีพระยาตากและพระยามหากษัตริย์ศึก พระยาพิชัยดาบหัก ยกทัพตีเมืองหลวงพระบางเวียงจันทร์ แตกอพยพมาอยู่เมืองลี้(นามเดิม) ปัจจุบันเป็นตำบลเมืองลี และตำบลปิงหลวงได้ตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้น สาเหตุที่ชื่อบ้านต้นต้องเนื่องจากมีการก่อตั้งวัดขึ้นในหมู่บ้าน ชื่อวัดบ้านต้อง จึงเปลี่ยนชื่อบ้านตามชื่อวัด ว่าบ้านต้องหรือบ้านต้นต้อง
หมู่ที่ 6 บ้านน้ำแพะ
บ้านน้ำแพะเริ่มมีคนเข้ามาอยู่เมื่อ พ.ศ.2400 มีคนเล่าขานสืบทอดกันมาว่า มีคนมาจากเวียงโกศัย( จังหวัดแพร่ ) และคนบ้านแฝก (อุตรดิตถ์ )สองคน ติดตามแพะป่า สองตัวซึ่งเข้ามาในพื้นที่ป่าแห่งนี้ที่อุดมไปโดยน้ำและป่าไม้น้อยใหญ่นานาชนิด แล้วพอทั้งสองมองเห็นแพะสองตัวกำลังกินน้ำที่ลำห้วย ทั้งสองคนเข้าไปใกล้ๆ หวังจะจับแพะ แพะทั้งสองตัวก็หายไปที่ลำห้วยนั้น เลยเรียกชื่อว่า ห้วยน้ำแพะ ต่อมามีคนเวียงโกศัย คนบ้านแฝก อุตรดิตถ์ คนเมืองนันทบุรี เข้ามาอยู่ จนกระทั่งทางราชการมีคำสั่งให้ตั้งเป็นหมู่บ้าน แต่งตั้งผู้นำหมู่บ้านขึ้น ชื่อบ้านน้ำแพะ หมู่ที่ 9ตำบลเมืองลี อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน (สมัยนั้น)
หมู่ที่ 7 บ้านน้ำเคิม
หมู่บ้านน้ำเคิม เดิมเป็นหมู่บ้านเล็กๆ มีประชากรไม่มาก แต่มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ และมีนายมัง ขันจ๋อย ราษฎรบ้านห้วยเลิศ ต.นางพญา อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ ได้ชักชวนราษฎรในหมู่บ้านมาตั้งหมู่บ้านที่ข้างลำน้ำเคิม ประมาณสิบหลังคาเรือน ภายหลังมีประชากรเพิ่มมากขึ้น ทางราชการจึงตั้งเป็นหมู่บ้าน โดยใช้ชื่อของลำห้วยที่ไหลผ่านหมู่บ้าน คือ ห้วยน้ำเคิม เป็นชื่อหมู่บ้าน
หมู่ที่ 8 บ้านน้ำลีใต้
ในอดีตเป็นพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ ต่อมาได้มีราษฎรหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 5 ของตำบลเมืองลี(ในขณะนั้น) ได้มาแผ้วถางป่าทำไร่เลื่อนลอยอยู่นานหลายปี และได้ชักชวนญาติพี่น้องเข้ามาจับจองเป็นเจ้าของพื้นที่จนเป็นบริเวณกว้าง และได้ตั้งเป็นหมู่บ้าน เมื่อ พ.ศ. 2528 เป็นหมู่ที่ 8 ของตำบลปิงหลวง อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน
หมู่ที่ 9 บ้านน้ำทา
ในอดีตบ้านน้ำทาขึ้นอยู่กับบ้านปิงหลวง หมู่ที่ 7 ตำบลเมืองลี อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ต่อจากนั้นทางราชการได้แยกอำเภอ แยกตำบล แยกหมู่บ้าน ออกมาเป็นบ้านน้ำทาหมู่ที่ 9 ตำบลปิงหลวง กิ่งอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน บ้านน้ำทาตั้งหมู่บ้านเมื่อ พ.ศ. 2530 เป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก และแต่เดิมประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างขัดสน และไม่มีที่ประกอบอาชีพ หลังจากได้แยกหมู่บ้าน ประชาชนจึงได้ร่วมกันพัฒนาหมู่บ้าน มาจนปัจจุบัน
หมู่ที่ 10 บ้านมะค่างาม
บ้านมะค่างาม หมู่ที่ 10 เดิมเป็นส่วนหนึ่งของบ้านปิงหลวง หมู่ที่ 2 ตำบลปิงหลวง แต่ต่อมามีประชากรเพิ่มมากขึ้น พ.ศ.2522 ทางราชการจึงแต่งตั้งเป็นอีกหมู่บ้าน โดยชื่อมะค่างามนี้เรียกขานตามผู้เฒ่าผู้แก่ เนื่องจากกลางหมู่บ้าน (บริเวณหน้าวัดปิงหลวงในปัจจุบัน) มีต้นมะค่าโมงอยู่ จึงได้ตั้งชื่อตามต้นไม้ดังกล่าว
ตารางแสดงจำนวนประชากรในตำบลปิงหลวง
หมู่ที่
|
บ้าน
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
จำนวนครัวเรือน
|
หมายเหตุ
|
1
|
บ้านดอนมูล
|
91
|
68
|
159
|
53
|
|
2
|
บ้านปิงหลวง
|
201
|
205
|
406
|
123
|
|
3
|
บ้านปิงใน
|
243
|
225
|
468
|
141
|
|
4
|
บ้านห้วยเย็น
|
161
|
146
|
307
|
85
|
|
5
|
บ้านต้อง
|
245
|
224
|
469
|
117
|
|
6
|
บ้านน้ำแพะ
|
197
|
195
|
392
|
103
|
|
7
|
บ้านน้ำเคิม
|
128
|
105
|
233
|
61
|
|
8
|
บ้านน้ำลีใต้
|
118
|
121
|
239
|
79
|
|
9
|
บ้านน้ำทา
|
58
|
65
|
123
|
40
|
|
10
|
บ้านมะค่างาม
|
134
|
105
|
239
|
68
|
|
รวมทั้งสิ้น
|
1,576
|
1,459
|
3,035
|
870
|
|
ที่มา : ระบบสถิติทางการทะเบียน ณ ปี 2562
ตารางแสดงจำนวนหมู่บ้าน / กำนัน / ผู้ใหญ่บ้าน
จำนวนหมู่บ้านที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลปิงหลวง มีจำนวนทั้งสิ้น 10 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ / บ้าน
|
ชื่อ - สกุล
|
ตำแหน่ง
|
หมายเหตุ
|
หมู่ที่ 1 บ้านดอนมูล
หมู่ที่ 2 บ้านปิงหลวง
หมู่ที่ 3 บ้านปิงใน
หมู่ที่ 4 บ้านห้วยเย็น
หมู่ที่ 5 บ้านต้นต้อง
หมู่ที่ 6 บ้านน้ำแพะ
หมู่ที่ 7 บ้านน้ำเคิม
หมู่ที่ 8 บ้านน้ำลีใต้
หมู่ที่ 9 บ้านน้ำทา
หมู่ที่ 10 บ้านมะค่างาม
|
นายผดุงเกียรติ์ ป่องนัน
นายวิทยา ฝั้นพรหมมินทร์
นายพยุงศักดิ์ สมปานวัง
นางกฤตพร ตุ้ยแก้ว
นางระพีพร บุญรังษี
นายณฐพล อมรทิพย์วงศ์
นายสุรีรัตน์ ภัทธนกิตติกูล
นางจุฑารัตน์ คำฤทธิ์
นายพรรณิกา คำเทพ
นายชรินทร์ อินต๊ะเหล็ก
|
ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ใหญ่บ้าน
กำนันตำบลปิงหลวง
|
|
2. อาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ
อาชีพเกษตรกรรม 88%
อาชีพรับจ้างทั่วไป 10%
อาชีพค้าขาย / รับราชการ / อื่น ๆ 5%
3. หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
- ปั้มน้ำมันและก๊าซ 8 แห่ง
- ร้านค้าปลีก 20 แห่ง
- ร้านซ่อมรถ 3 แห่ง
- โรงสีข้าว 11 แห่ง
4. การศึกษา
- โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 5 แห่ง ได้แก่
1) โรงเรียนบ้านปิงหลวง หมู่ที่ 2 2) โรงเรียนบ้านปิงใน หมู่ที่ 3
3) โรงเรียนบ้านน้ำแพะ หมู่ที่ 6 4) โรงเรียนบ้านน้ำเคิม หมู่ที่ 7
5) โรงเรียนบ้านน้ำลี หมู่ที่ 8
- โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง ได้แก่
1) โรงเรียนปิงหลวงประชาสามัคคี หมู่ที่ 1
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 แห่ง ได้แก่
1) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลปิงหลวง หมู่ที่ 10 2) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านน้ำเคิม หมู่ที่ 7 3) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านน้ำลีใต้ หมู่ที่ 8
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 10 แห่ง
5. การสาธารณสุข
มีสถานบริการสาธารณสุข / บริการชุมชน จำนวน 11 แห่ง คือ
1) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลปิงหลวง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านดอนมูล
2) ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน ประจำหมู่บ้าน 10 หมู่บ้าน
องค์การบริหารส่วนตำบลปิงหลวงได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลปิงหลวงมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 16 คน เป็นชาย จำนวน 12 คน หญิง จำนวน 4 คน และคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 4 คน ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 2 คน และเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลปิงหลวง จำนวน 1 คน
|